วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่5 พระไตรปิฏก และศสานษุภาษิต

การทำ สังคายนาเป็นเหตุให้เกิดพระไตรปิฎก
          แม้ในตอนต้น จะได้ระบุนามของพระเถระหลายท่าน ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎก แต่พระไตรปิฎกก็เกิดขึ้นภายหลังที่ท่านพระเถระทั้งหลายได้ร่วมกันร้อยกรอง จัดระเบียบพระพุทธวจนะแล้ว ในสมัยของพระพุทธเจ้าเองยังไม่มีการจัดระเบียบหมวดหมู่ ยังไม่มีการจัดเป็นวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธัมมปิฎก นอกจากมีตัวอย่างการจัดระเบียบวินัยในการสวดปาฏิโมกข์ลำดับสิกขาบททุกกึ่ง เดือน ตามพระพุทธบัญญัติและการจัดระเบียบธรรมในสังคีติสูตรและทสุตตรสูตรที่พระสา ริบุตรเสนอไว้ กับตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แจงวิธีจัดระเบียบพระธรรมแก่พระจุนทะเถระ และพระอานนท์ในปาสาทิกสูตร และสามคามสูตร ดังได้กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้น  อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

พระสงฆ์ เป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย หมายถึง ผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วสอนให้ผู้อื่นรู้และปฏิบัติตาม
ผู้ที่จะเป็นพระสงฆ์ได้จะต้องผ่านการบวชโดยวิธีหนึ่งใน 3 วิธี ได้แก่
1. การบวชโดยพระพุทธเจ้าทรงประทานให้ เรียกว่า เอหิกภิกขุอุปสัมปทา อ่านเพิ่มเติม

บทที่ ๓ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และ ศาสนพิธี

1.1 หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
               1) วันมาฆบูชา
               วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ คือ 1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 2. พระภิกษุ 1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น
          ในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วางหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธองค์ไว้ ประการ คือ 1. ไม่ทำความชั่ว 2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม และ 3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว อ่านเพิ่มเติม

หน่วยที่ ๒ พุทธประวัติและชาดก

ชาติตระกูล  มีพระนามเดิมว่า “สิทธัตถะ” เป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับ”พระนางสิริมหามายา”  ประสูติ ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละ (ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยที่ ๑ ประวัติและความเป็นมาของพระพุทธศาสนา

สมัยหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานที่เมืองกุสินาราแล้ว ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จัดไว้เป็นหมวดหมู่จนกระทั่ง อ่านเพิ่มเติม